หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เมื่อร่างกายขาด ฮอร์โมน

เมื่อร่างกายขาด ฮอร์โมน

- ปัญหาการแข็งตัวขององคชาติ เสื่อมสมรรถภาพ  
- ระบบประสาทในการรับรู้ เรียนรู้และการเคลื่อนไหวเสื่อมลง 
- มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด มีไขมันสูงในหลอดอาหารและหลอดลม 
- การทำงานของอินซูลินลดลง เป็นเบาหวาน 
- ผมร่วงและหงอกมากขึ้น 
- มีการเสื่อมของข้อ ข้อติดและปวด 
- การทำงานของปอด หัวใจ ตับ ไต เสื่อมลง 
- ผิวหนังแห้งเหี่ยวและย่น   


ความชรากับโกร๊ทฮอร์โมน

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในร่างกายมนุษย์ทุกคน คือ ความชรา  เราสามารถทราบถึงกระบวนการแห่งความชราได้ ด้วยการสังเกตอาการเหล่านี้ :
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก กล้ามเนื้อลีบลง ไขมันที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณรอบเอว
  • ความจำเสื่อม ภูมิต้านทานต่ำลง
 

สัญญาณแห่งความชรา

  •     ผมร่วง
  •     ผมหงอก
  •     สายตาเสื่อม
  •     ความจำเสื่อม
  •     ผิวหนังเหี่ยวย่น
  •     กำลังวังชาลดลง
  •     มวลกระดูกบางลง ฯลฯ      
        เหล่านี้ คืออาการบางอย่างของความชราที่สังเกตได้ชัดและป้องกันได้ ผลการศึกษาทางการแพทย์   ได้ให้ข่าวดีแก่เราว่า  ถ้าเราทำให้  ฮอร์โมนเจริญวัย   (Growth Hormone -HGH)  ในคนเพิ่มสูงขึ้น      เราจะสามารถย้อนวัยทางชีวภาพกลับไปสู่ความเป็นหนุ่มสาวขึ้นได้อีกหลายปี

ความชรากับโกร๊ทฮอร์โมน

ความชรากับโกร๊ทฮอร์โมน

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในร่างกายมนุษย์ทุกคน คือ ความชรา  เราสามารถทราบถึงกระบวนการแห่งความชราได้ ด้วยการสังเกตอาการเหล่านี้ :
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก กล้ามเนื้อลีบลง ไขมันที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณรอบเอว
  • ความจำเสื่อม ภูมิต้านทานต่ำลง
สัญญาณแห่งความชรา
  •     ผมร่วง
  •     ผมหงอก
  •     สายตาเสื่อม
  •     ความจำเสื่อม
  •     ผิวหนังเหี่ยวย่น
  •     กำลังวังชาลดลง
  •     มวลกระดูกบางลง ฯลฯ      
        เหล่านี้ คืออาการบางอย่างของความชราที่สังเกตได้ชัดและป้องกันได้ ผลการศึกษาทางการแพทย์   ได้ให้ข่าวดีแก่เราว่า  ถ้าเราทำให้  ฮอร์โมนเจริญวัย   (Growth Hormone -HGH)  ในคนเพิ่มสูงขึ้น      เราจะสามารถย้อนวัยทางชีวภาพกลับไปสู่ความเป็นหนุ่มสาวขึ้นได้อีกหลายปี

ฮอร์โมนเจริญวัย(HGH)  มักจะถูกขนานนามว่า "น้ำพุแห่งความหนุ่มสาว" เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างโดยต่อมใต้สมอง(pituitary gland)  ฮอร์โมนนี้เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนอยู่ทั้งหมด 191 โมเลกุล ถูกสร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติ เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ 
        HGH ที่ ถูกหลั่งจากต่อมใต้สมอง จะออกมาเป็นช่วงสั้น ๆ และอยู่ในกระแสเลือดเพียงประมาณชั่วโมงกว่า ๆ เท่านั้น ฮอร์โมนนี้จะหลั่งปริมาณมากที่สุดในช่วงเวลาที่หลับลึกตอนกลางคืน (Slow Wave Sleep)  ส่วนเวลากลางวันจะหลั่งน้อยกว่าและขึ้นอยู่กับการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร
        HGH   ในกระแสเลือด จะเดินทางไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ อันเป็นปลายทางการสื่อสาร อวัยวะที่รับสัมผัสกับ HGH มากที่สุดคือ ตับ  เมื่อตับได้รับสัญญาณจาก HGH แล้วจะสร้างสารที่มีหน้าที่คล้ายอินซูลิน (Insulin like Growth Factor -1 หรือเรียกว่าฮอร์โมน IGF-1 ) ออกมาตอบสนอง  ฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเจริญเติบโต และการซ่อมแซมเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย นอกจากนี้        IGF-1  ยังส่งเสริมกระบวนการเผาพลาญกลูโคส กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน และเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์  นี่คือ ผลที่คล้ายกับการทำงานของอินซูลิน และนี่คือสาเหตุว่าทำไม IGF-1 จึงมีประโยชน์คล้ายกับ HGH
 
 

ผู้สูงอายุกับการนอน

ผู้สูงอายุกับการนอนหลับ

เมื่อย่างเข้าวัยสูงอายุร่างกายก็จะเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเป็นต้นว่า รับประทานอาหารไม่อร่อย สายตามัวลง เป็นต้อกระจก หูได้ยินไม่ชัด แต่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามอายุคือระยะเวลาที่ต้องการนอนคือยังคงเท่าเดิม ประมาณวันละ 8 ชั่วโมงแต่คุณภาพในการนอนของผู้อายุลดลงจึงทำให้นอนไม่ค่อยพอ มีหลายปัจจัยที่ทำให้การนอนของผู้สูงอายุไม่มีคุณภาพ เช่น การงีบหลับในเวลากลางวัน การนอนไม่เป็นเวลา การเข้านอนก่อนที่จะง่วง (advanced sleep phase syndrome) หรือเข้านอนเมื่อผ่านเวลานอนไปแล้ว (delayed sleep phase syndrome) หรือใช้เตียงเพื่อจุดประสงค์อื่นเช่นการดูทีวี การอ่านหนังสือ การรับประทานอาหารหรือมีสิ่งรบกวนในห้องนอน เช่นเสียงดัง มีแสง ห้องร้อน นอนจากปัจจัยภายนอกแล้วปัจจัยภายในของผู้ป่วยโรคต่างๆเช่น อาการปวดข้อ โรคหัวใจ ปัญหาทางจิตใจ ปัญหาทั้งหมดจะทำให้การนอนหลับในผู้สูงอายุมีคุณภาพลดลง

การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการนอนในผู้สูงอายุ

การนอนหลับของคนประกอบไปด้วย 5 ระยะคือระยะที่ 1-4 และระยะ rapid eye movement ช่วงที่หลับสนิทมากที่สุดคือระยะ 3-4 ผู้สูงอายุจะมีช่วงเวลาที่หลับสนิทคือระยะที่3-4 ลดลงทำให้หลับไม่สนิท
ผู้สูงอายุจะนอนยากขึ้นมีรายงานว่าร้อยละ 24 ของผู้ป่วยสูงอายุใช้เวลามากกว่า 30 นาที่ในการนอนหลับ สาเหตุเนื่องจากการที่ร่างกายสร้าง melatonin และ growth hormone ลดลง การเจอแสงแดดลดลง และการที่ผู้ป่วยตื่นบ่อย เหล่านี้เป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุหลับยาก

โรคที่มีผลต่อการนอนของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจำตัว โรคประจำตัวหลายโรคก็มีผลต่อการนอนของผู้สูงอายุโรคต่างๆเหล่านี้ได้แก่
  • ข้ออักเสบ
  • กระดุกพรุน
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคมะเร็ง
  • โรค parkinson
  • โรค Alzheimer
  • โรคสมองเสื่อม dementia
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ Incontinence
  • โรคหัวใจ Congestive heart failure
  • โรคถุงลมโป่งพอง copd
โรคปวดข้อปวดหลังมักจะปวดตอนกลางคืนทำให้ต้องตื่นบ่อย โรคหัวใจวายที่ยังคุมไม่ดีเมื่อนอนราบจะมีอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่ออกต้อง ตื่นลุกขึ้นนั่งเมื่อหายแน่นจึงนอนต่อ การดูแลเรื่องการนอนหลับต้องรักษาปัจจัยเหล่านี้ด้วย วัยทองกับการนอนหลับ หญิงวัยทองมีปัญหาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับฮอร์โมนทำให้เกิดอาการร้อนตามตัว เหงื่อออก ทำให้ตื่นบ่อยและง่วงนอนเวลากลางวัน

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

แบ่งได้เป็นเหตุใหญ่ๆดังนี้ สาเหตุจากทางด้านจิตใจ ( Psychologic Causes of Insomnia )ผู้ป่วยจำนวนมากเกิดจากทางด้านจิตใจ เช่นโรคเครียด โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ 70จะมีอาการนอนไม่หลับเป็นอาการสำคัญ
ปัจจัยกระตุ้นให้นอนไม่หลับ (Precipitating Factors of Transient Insomnia) มักจะเป็นชั่วคราวเช่น
Adjustment Sleep Disorder เป็นภาวะนอนไม่หลับที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เพิ่งเกิด เช่นผลจากความเครียด จากการเจ็บป่วย ผ่าตัด การสูญเสียของรัก จากงาน เมื่อปัจจัยกระตุ้นหายอาการนอนไม่หลับจะกลับสู่ปกติ
Jet Lag ผู้ป่วยเดินบินข้ามเขตเวลาทำให้เปลี่ยนเวลานอนร่างกายปรับตัวไม่ทันจะทำให้นอนยาก
Working Conditions เช่นคนที่เข้าเวรเป็นกะๆทำให้นาฬิกาชีวิตเสียไป ทำให้นอนไม่เป็นเวลา
Medications นอนไม่หลับจากยา เช่นกาแฟ ยาลดน้ำมูก
นอนไม่หลับจากโรค Medical and Physical Conditions หากคุณมีโรคบางโรคก็อาจจะทำให้คุณนอนไม่หลับเช่น
โรคบางโรคขณะเกิดอาการจะทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ เช่นโรคหอบหืด โรคหัวใจวาย ภูมิแพ้ โรคสมองเสื่อม Alzheimer โรคparkinson โรคคอพอกเป็นพิษ
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ฮอร์โมน progesteron จะทำให้ง่วงนอนช่วงไข่ตกจะมีฮอร์โมน progesteron สูงทำให้ง่วงนอน แต่ช่วงใกล้ประจำเดือนฮอร์โมนจะน้อยทำให้อาจจะมีอาการนอนไม่หลับ การตั้งครรภ์ระยะแรกและระยะใกล้คลอดจะมีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากเปลี่ยน แปลงของฮอร์โมน ช่วงแรกของหญิงวัยทองก็มีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน
นอนไม่หลับจากการเปลี่ยนเวลานอน Delayed Sleep-Phase Syndrome เมื่อถึงเวลานอนแต่ไม่ได้นอนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน
ปัจจัยส่งเสริมอาการนอนไม่หลับ Perpetuating Factors มีหลายภาวะที่ส่งเสริมให้นอนไม่หลับ
  • Psychophysiological Insomnia เกิดจากนอนก่อนเวลานอนแล้วนอนไม่หลับ เรียก Advanced sleep phase Syndrome ทำให้คนผู้นั้นพยายามที่จะนอน กระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา ไม่ผ่อนคลายจนกลายเป็นความเครียด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะ ชีพขจรเร็ว ตื่นง่าย อุณหภูมิจะสูงกว่าปกติ
  • นอนไม่หลับจากสารบางชนิด เช่นกาแฟ สุรา การดื่มกาแฟหรือสุราตอนกลางวันถึงกลางคืนอาจจะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน การดื่มสุราเล็กน้อยก่อนนอนจะช่วยลดความเครียดทำให้หลับดีขึ้นแต่ถ้าหากดื่ม มากจะทำให้หลับไม่นานตื่นง่าย ช่วงที่อดสุราก็จะมีปัญหาหลับยาก ผู้ที่สูบบุหรี่จะนอน 3-4 ชั่วโมงแล้วตื่นเนื่องจากระดับ nicotin ลดลง
  • การที่ระดับ melatonin ลดลงระดับ melatonin จะมีมากในเด็กและลดลงในผู้ใหญ่หลังอายุ 60 ปีจะมีน้อยมาก
  • จากแสง จากความรู้ข้างต้นแสงจะกระตุ้นให้ตื่นแม้ว่าจะหรี่แสงแล้วก็ตาม
  • นอนไม่หลับในวัยเด็ก พ่อแม่ที่เวลานอนไม่สม่ำเสมอจะทำให้เด็กนอนไม่หลับในตอนโต
  • การออกกำลังตอนใกล้เข้านอน การทำงานที่เครียดก่อนนอน
  • การที่นอนและตื่นไม่เป็นเวลา
  • สิ่งแวดล้อมในห้องนอนไม่ดี เช่นร้อน หนาว แสงจ้าไป เสียงดังไป รวมทั้งลักษณะการนอนของคนใกล้ชิด เช่นนอนดิ้น นอนกรนเป็นต้น
หากท่านยังไม่ทราบสาเหตุให้กรอกตารางสำรวจสาเหตุการนอนไม่หลับความต้องการ การนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น

การนอนหลับ

การนอนช่วง Non-rapid eye movement (non-REM sleep) การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมากเพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็ง แรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร และมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone การนอนช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่โดยการหลับจะเริ่มจากระยะที่ 1ไปจน REM และกลับมาระยะ 1 ใหม่
Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า
Stage 2 (true sleep) ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles
Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ delta waves และ
Stage 4 ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ 3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุด ตาจะไม่เคลื่อนไหว ร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย
การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาทีหลังจากนอน ช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว ชีพจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้
เราจะใช้เวลานอน ในระยะต่างๆ ดังนี้
Stage%
Stage 2 50
REM 20
ระยะอื่นๆ 30
การนอนหลับครบหนึ่งรอบใช้เวลา 90-110 นาที คนปกติต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมงโดยหลับตั้งค่ำจนตื่นในตอนเช้า คนสูงอายุการหลับจะเปลี่ยนไปโดยหลับกลางวันเพิ่มและตื่นกลางคืน จำนวนชั่วโมงในการนอนหลับแต่ละคนจะไม่เหมือนกันบางคนนอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมงโดยที่ไม่มีอาการง่วงนอน ถ้านอนหลับติดต่อกันจะรู้สึกนอนอิ่มกว่าคนที่หลับเป็นช่วงๆ

การนอนไม่หลับ (Insomnia)

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

ถ้าตอนกลางวันไม่ง่วงนอน ถือว่าได้นอนเพียงพอแล้ว
เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา
ถ้าหิวหรืออิ่มเกินไปทำให้นอนไม่สบาย
ออกกำลังกาย (เช่น ช่วงเวลาบ่าย ไม่ควรเป็นช่วงก่อนนอน)
หยุดสูบบุหรี่ ลดแอลกอฮอล์
ไม่อ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์บนเตียง
ใช้เตียงสำหรับการนอนเท่านั้น
ให้รางกายถูกแสงแดดบ้าง เช่น ช่วงเวลา 15:00-17:00 รวมกลุ่มไปเดินออกกำลังกลางแจ้ง (สมองจะ set เวลาว่าตอนนี้มีดวงอาทิตย์ มีแสงสว่างเป็นตอนกลางวัน)

การรักษาโดยใช้ยา

Short Half Life Benzodiazepine=temazepam, lorazepam
Non Benzodiazepine = zolpidem
  • Flurazepam (Dalmadorm),
  • Diazepam (Valium),
  • Triazolam (Halcion)
  • Midazolam (Dormicum)
  • Lorazepam (Ativan)
  • Triazolam (Euhypnos)
  • Zolpidem (Stilnox)
Drug Half Life (Hr)YoungOld
Diazepam (Valium) 2475
Chlordiazepoxide 10 30
Oxazepam 10 10
Lorazepam (Ativan) 12 12
Alprazolam 10 17

References

31 กค.-1 สค. 2546 การอบรมวิชาการประจำปี สมาคมพฤฒาวิทยา และเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กทม.

โรคชรา คือความเจ็บป่วย

โรคชราคือความเจ็บป่วย



·         นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันความชรา ชี้ให้เห็นว่า ความชรา คือ โรค โดย ตั้งชื่อโรคนี้ว่า "กลุ่มอาการขาด HGH" ความชราไม่ใช่เรื่องธรรมชาติอีกต่อไป เราสามารถป้องกันและบำบัดได้ ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะตัดสินใจปล่อยให้แก่ชราเอง หรือคุณจะหาวิธีป้องกันมัน  แม้ว่าการหลั่ง GH จะลดลง  หรือสารโซมาโตสเตตินจะเพิ่มขึ้น  หรืออวัยวะเป้าหมายไม่ตอบสนองต่อ GH ก็ตาม  เราก็สามารถที่จะเอาชนะความชราได้โดยการให้สารที่ช่วยปลดปล่อย GH แก่ร่างกาย


การทำงานของ HGH


การทำงานของ HGH  

   กระตุ้นการล้างพิษ : เพิ่มขีดความสามารถของต่อมไร้ท่อในการต่อต้านกับไวรัส และขจัดสารพิษออกจากร่างกาย
·           ลดรอยเหี่ยวย่น รอยตีนกา และฟื้นฟูสภาพผิวหน้า : กระตุ้น พลังงานแก่เซลล์ผิวหนัง ปรับสมดุลการเกิดรอยเหี่ยวย่น เพิ่มน้ำ เกลือแร่ แก่เซลล์ผิวหนัง  และฟื้นฟูเซลล์ ทำให้เกิดรอยย่นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
·           ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อ : ปรับสมดุลอารมณ์ เสริมพลังงาน ช่วยให้ระบบต่อมไร้ท่อ  รักษาความเป็นหนุ่มสาวได้ดี
·          เพิ่มกล้ามเนื้อ ลดไขมัน : ช่วยลดการสะสมของไขมันในร่างกาย  ลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
·          เสริมอารมณ์เพศ : ปรับการทำงานของต่อมต่าง ๆ  เสริมความต้องการทางเพศ  ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวและเสริมสมรรถภาพทางเพศ
·          เสริมการทำงานของหัวใจ : ช่วยให้ผนังหัวใจด้านซ้าย (Left Ventricular Wall) หนาตัวและแข็งแรงขึ้น  และสามารถสูบฉีดโลหิตได้ดีขึ้น
·          ลดการเกิดผมหงอกและหัวล้าน : หลั่งสารเคมีจากต่อมใต้สมอง กระตุ้นต่อมรูขุมขน เพิ่มสารอาหาร เอ็นไซม์ ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดสีของเส้นผม
·          ช่วยให้นอนหลับ : ควบคุมประสาทส่วนกลาง ปรับสมดุลเซลล์สมอง จัดสารเคมีในสมองให้ถูกต้อง ปรับการทำงานของสมอง ช่วยให้หลับสนิท ลดความเครียดและความกังวล
·          เสริมระบบภูมิต้านทาน :  ช่วยให้ T-Cell Leucocyte และ Interferon แข็งแรง เสริมระบบภูมิต้านทาน ต่อต้านการติดเชื้อจากไวรัส
·          เสริมการทำงานของตับและตับอ่อน : ช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้น ต่อต้านการเกิดไวรัสตับอักเสบ
·          ปรับสมดุลต่อมน้ำเหลือง : ช่วยส่งสารเคมีผ่านต่อมใต้สมอง เพื่อปรับสมดุลต่อมน้ำเหลือง
·          เสริมความจำและดูแลสมอง : บำรุงเซลล์สมองแลการทำงานของสมอง เสริมความจำ
·          ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น : ลดการเกิดแผลเป็น ลดการอักเสบ และช่วยให้เนื้อเยื่อประสานตัวกันเร็วขึ้น

หนทางของการมีสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาว


หนทางของการมีสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาว

·         การชะลอความชรา ถ้าทำได้จริง อาจเปรียบเสมือนมาตรการที่ดีทีสุดในการรักษาโรค เพราะการป้องกันความชราหมายถึงการป้องกันโรค แต่คนสวนใหญ่ที่มองหายา Anti-aging มัก จะเป็นคนที่เริ่มมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นแล้ว คนไข้หลายคนมีความเจ็บป่วยทีรุนแรง หรือเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงหันมาหาแพทย์ทางเลือก เพราะหวังในปาฏิหาริย์ หรือ miracle drugs คนบางคน ปฏิเสธที่จะทานยา เพราะไม่ต้องการยอมรับว่า ตัวเองป่วย หรือบ่นว่ายามีราคาแพง มักจะมองหาแต่ยาอายุวัฒนะ และยินดีที่จะจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้ออาหารเสริม เพราะเชื่อว่าถ้าเป็นอาหารเสริม น่าจะปลอดภัยกว่า
ผู้เขียนมักจะถูกถามอยู่เสมอว่า ทานอะไรถึงจะแก่ช้า แต่คำถามที่แท้จริงน่าจะเป็น ทำอย่างไรถึงจะแก่ช้ามากกว่า ถ้าเราจะมาลองคิดดูว่า สำหรับคนที่ยังมีอายุไม่มาก ถ้าเรายึดหลักปฏิบัติตัวที่ถูกต้องตั้งแต่วันนี้ ร่างกายของเราก็จะคงสภาพอยูได้นาน กระบวนการนั้นประกอบด้วย การออกกำลังสม่ำเสมอ การทานอาหารจำนวนน้อย ๆ ควบคุมน้ำหนักตัว หลีกเลี่ยงอาหารที่มีอันตรายต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงสารเสพติด ทำจิตใจให้สงบ พักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาความผิดปกติตั้งแต่แรก ใช้ยารักษาโรคเมื่อจำเป็น ส่วนการใช้วิตะมินและอาหารเสริมที่ถูกต้อง ก็จัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการมีสุขภาพที่ดี อย่าลืมว่า ถ้าจะรอให้ป่วยก็อาจจะสายเกินไปแล้ว