หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

HGH กับความสูง


HGH กับความสูง 

gigantism

   โรค gigantism อาจเรียกอีกอย่างนึงว่า ภาวะยักษ์ ที่เรียกว่าภาวะยักษ์ เพราะผู้ป่วยมีอาการ ตังสูงใหญ่กว่าคนปกติ แต่สัดส่วนของร่างกาย เท่าเดิมทุกอย่าง มักจะเกิดตั้งแต่เด็ก

   โรค gigantism มีสาเหตุมาจาก ในวัยเด็กได้รับ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ที่ชื่อ Growth Hormone (GH) มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่สร้งความเจริญเติบโตของร่างกาาย เมื่อร่างกายมีการผลิต Growth Hormone (GH) มากจนเกินไป ก็ทำให้ร่างกายใหญ่โต ดังรูป โดยผู้ป่วยในส่วนมาก จะมีความสูงเกิน 200 เซนติเมตร (2 เมตร)

    จากเคสตัวอย่างในเมืองไทย เด็กหญิงมาลี ดวงดี อายุ 16 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปะเดา ต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด เป็นโรคที่เรียกว่า ไจแกนติซึม (Gigantism) หรือเด็กร่างยักษ์ คือรูปร่างสูงใหญ่แต่สมส่วน โรคนี้พบได้น้อยมาก มีสาเหตุจากความผิดปกติของโกรท ฮอร์โมน (Growth hormone) เธอมีอาการ รูปร่างสูงใหญ่ อาจสูงได้ถึง 270 เซนติเมตร แต่หากเกิดตอนโตเต็มที่แล้ว คือหลังอายุ 18 ปี จะทำให้กระดูกใบหน้า กระดูกนิ้วมือ นิ้วเท้า โตผิดปกติ ใบหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม หน้าจั่ว จมูกใหญ่ กระดูกแก้มโหนก เรียกว่า อะโครเมกาลี่ (Acromegaly)

    นายแพทย์เรวัต แพทย์ประจำตัวคนไข้ได้กล่าวว่า การรักษาทำได้ 3 วิธี คือ

    1.รักษาด้วยยา มีทั้งกินและฉีด ยากินคือ บรอมโมคริบตีน (Bromocriptine) ทำให้ก้อนเนื้องอกเล็กลง อาการต่างๆ ก็จะดีขึ้น ได้ผลประมาณร้อยละ 40 ส่วนยาฉีดต้องฉีดทุก 8 ชั่วโมง และต้องฉีดต่อเนื่องระยะยาว

    2.รักษาโดยการผ่าตัดสมองผ่านทางช่องจมูก ซึ่งมักจะทำหลังจากที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล หรือมีปัญหาก้อนเนื้อกดทับประสาทตา วิธีนี้สามารถทำได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางคือ สถาบันประสาทวิทยา สังกัดกรมการการแพทย์ วิธีนี้ได้ผลดี โรคแทรกซ้อนต่ำ

    3.รักษาโดยการฉายรังสี เพื่อให้ก้อนเนื้องอกยุบ ซึ่งกรณีของเด็กหญิงมาลีนั้น มีทางรักษาได้ จะให้สถาบันประสาทวิทยาประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดต่อไป เพื่อวาง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น