โกรทฮอร์โมนสร้าง และหลั่งออกมาจากเซลล์ที่มีชื่อเรียกว่า
โซ มาโตรโทรฟ (somatotrophs) ซึ่งอยู่ในต่อมใต้สมองส่วนหน้า
การสร้างโกรทฮอร์โมนถูกควบคุมโดยปัจจัยต่างๆ หลายชนิด ได้แก่ ภาวะความเครียด
การออกกำลังกาย ภาวะโภชนาการ การนอน รวมทั้งตัวโกรทฮอร์โมนเองด้วย
ปัจจัยที่ควบคุมที่สำคัญเป็นฮอร์โมน 3 ชนิด เป็นฮอร์โมนจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส 2 ชนิด และฮอร์โมนจากกระเพาะอาหารอีกหนึ่งชนิด ได้แก่
1. growth hormone-releasing hormone (GHRH)
เป็น เปปไทด์ฮอร์โมนเช่นเดียวกัน สร้างมาจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมน และควบคุมการหลั่งของโกรทฮอร์โมนอีกด้วย
2.somatostatin (SS)
เป็น เปปไทด์ฮอร์โมน ที่ผลิตมาจากเนื้อเยื่อหลายชนิดในร่างกาย รวมทั้งสมองส่วนไฮโปธาลามัส จัดเป็นฮอร์โมนยับยั้ง มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมน ในขณะที่ร่างกายกำลังตอบสนองต่อผลของ GHRH นอกจากนี้ยังพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดต่ำลงจะกระตุ้นการทำงานของ
ฮอร์โมนนี้ด้วย
3.ghrelin
เป็น เปปไทด์ฮอร์โมนที่หลั่งมาจากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนนี้มีความสามารถในการจับกับตัวรับซึ่งอยู่บนเซลล์ชนิด somatotrophs และกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ในปริมาณมากพอสมควร
ปัจจัยที่ควบคุมที่สำคัญเป็นฮอร์โมน 3 ชนิด เป็นฮอร์โมนจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส 2 ชนิด และฮอร์โมนจากกระเพาะอาหารอีกหนึ่งชนิด ได้แก่
1. growth hormone-releasing hormone (GHRH)
เป็น เปปไทด์ฮอร์โมนเช่นเดียวกัน สร้างมาจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมน และควบคุมการหลั่งของโกรทฮอร์โมนอีกด้วย
2.somatostatin (SS)
เป็น เปปไทด์ฮอร์โมน ที่ผลิตมาจากเนื้อเยื่อหลายชนิดในร่างกาย รวมทั้งสมองส่วนไฮโปธาลามัส จัดเป็นฮอร์โมนยับยั้ง มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมน ในขณะที่ร่างกายกำลังตอบสนองต่อผลของ GHRH นอกจากนี้ยังพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดต่ำลงจะกระตุ้นการทำงานของ
ฮอร์โมนนี้ด้วย
3.ghrelin
เป็น เปปไทด์ฮอร์โมนที่หลั่งมาจากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนนี้มีความสามารถในการจับกับตัวรับซึ่งอยู่บนเซลล์ชนิด somatotrophs และกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ในปริมาณมากพอสมควร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น