หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภาวะพร่องฮอร์โมน (Hormonal Insufficiency)


ภาวะพร่องฮอร์โมน (Hormonal Insufficiency)

เมื่อ คนเราเข้าสู่วัยชรา ปริมาณฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นจะลดน้อยลงเรื่อยๆ ฮอร์โมนเหล่านี้อาจมีความสำคัญต่อการคงสภาพของเซลล์ในร่างกาย ตัวอย่างเช่น estrogen, androgen, growth hormone, และ melatonin เป็นต้น
เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ป่วยวัยทองจะมีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจ และโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายหยุดการสร้างฮอร์โมน androgen ในผู้ชาย และ ฮอร์โมน estrogen ใน ผู้หญิง ในอดีต มีการแนะนำให้ผู้ป่วยวัยทองใช้ฮอร์โมนทดแทน แต่เนื่องจากฮอร์โมนที่ใช้ เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ มะเร็งเต้านมจากฮอร์โมนเพศหญิง และ ภาวะดีซ่าน (cholestatic jaundice) จาก ฮอร์โมนเพศชาย แต่ในปัจจุบันมีการผลิตฮอร์โมนตัวใหม่ๆ ที่มีโครงสร้างที่เหมือนฮอร์โมนธรรมชาติ บางชนิดสามารถใช้โดยการทาให้ดูดซึมสู่ผิวหนัง จึงมีผลข้างเคียงต่ำ
การทดแทน Growth hormone เริ่มเป็น ที่นิยมในต่างประเทศ แม้จะยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ทั่วไป เพราะเกรงถึงฮอร์โมนที่อาจมีผลเซลล์ซึ่งมีความผิดปกติอยู่เดิม ทำให้เกิดอาการเติบโตกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้ Growth hormone ยังมีราคาแพงมาก
Melatonin เป็นฮอร์โมนที่หลังจากต่อมไพเนียล มีหน้าที่ในการบอกถึงเวลาหลับ และยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบันมีการใช้ melatonin ในการรักษาอาการนอนหลับยากหลังจากเดินทางไกล (Jet lag) ในคนที่เดินทางไกล และใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (dementia) และมีความผิดปกติในการนอนหลับ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น